Flashy Pink Star

วันเสาร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4


บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

ประจำวัน จันทร์ ที่ 4 เดือน กันยายน พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

บทที่ 4 โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ

1.โครงการ การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในประเทศไทย

มีโครงการต่างๆ ดังนี้

1.1 โครงการ   แม่สอนลูก
  - ดำเนินการโดยกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ
  - จัดสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาส โดยให้มารดาเป็นผู้สอนเองที่บ้าน

  - ใช้วิธีการแนะนำให้รู้จักใช้ทักษะ รู้จักคิดและเรียนรู้มโนทัศน์ด้านต่างๆ
  - เนื้อหากิจกรรมในโปรแกรมนี้ เป็นกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก  
1.2 การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า 3 ปี 
ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย
-  เป็นโครงการภายใต้งานวิจัยของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
-  เกิดจากความต้องการให้ครอบครัวเป็นหลักของการพัฒนาเด็กในช่วงอายุต่ำกว่า 3 ปี 
-  ใช้รูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ  วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการ
มีส่วนร่วม   วิธีการสนทนากลุ่ม  วิธีอภิปรายกลุ่มและวิธีการบรรยาย  
1.3 โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
-  ดำเนินงานโดยสำนักสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต 
-  มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย โดยผลักดันให้ครอบครัวมีส่วนร่วม
-  มีการจัดทำชุดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กและเยาวชนไทย
1.4 โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความข็มแข็งของครอบครัว “บ้านล้อมรัก”
-  ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
-  เพื่อสร้างความเข้าใจบทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครองในการดูแลเอาใจใส่บุตรหลานให้ปลอดภัยและห่าง
ไกลจากยาเสพติด 
1.5 โครงการหนังสือเล่มแรก (Bookstart Thailand)
-  โดยการริเริ่มของมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก 
-  มีเป้าหมายที่จะให้พ่อแม่ลูกมีความสุขร่วมกันในโลกของหนังสือ สร้างพื้นฐานการอ่านและ
สานสัมพันธ์ในครอบครัว
-  มีการรณรงค์โครงการโดยการจัดทำถุงบุ๊คสตาร์ท (book start) ติดตามประเมินผลครอบครัวในโครงการ


1.6 โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว

-  เป็นการดำเนินงานร่วมกันของกรมการพัฒนาชุมชน กรมการศึกษานอกโรงเรียน กรมอนามัย 

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

-  มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ให้พ่อแม่ สมาชิกในครอบครัว เยาวชนในท้องถิ่นที่

เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กให้เจริญเติบโต มีพัฒนาการตามวัย

2.โครงการ การให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ

โครงการ การให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล

2.1 โครงการศูนย์ส่งเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัยที่เรียกว่า ALEH  

(Early Childhood Enrichment Center)

โดยศูนย์ ALEH จะมีกิจกรรมช่วยพ่อแม่ผู้ปกครอง ดังนี้

-  สอนแม่ที่อายุยังน้อยให้รู้จักใช่สื่อ-อุปกรณ์ (ของเล่น) เกมการเล่นเพื่อพัฒนาเด็ก

-  จัดกิจกรรมสอนให้แม่ทำของเล่นให้ลูกหรือคิดสร้างเกมการเล่นกับลูก

2.2 โครงการเสนอแนะให้แม่สอนลูก เลี้ยงลูกอย่างไรให้ถูกวิธี

-  โดยโครงการนี้ชื่อ HATAF โปรแกรม

-  เป็นโครงการที่ร่วมมือกันทำระหว่างมหาวิทยาลัยเยรูซาเล็มกับกระทรวงศึกษาธิการ

-  จัดรูปแบบการสอนพ่อแม่ที่มีลูกอายุ 1-3ปี

-  ให้พ่อแม่ได้พัฒนาทักษะการพูด-คุยกับลูก ได้เรียนรู้พัฒนาการทั้งทางด้านสติปัญญา อารมณ์และ

สังคม  สอนให้พ่อแม่จัดบรรยากาศสิ่งแวดล้อมให้ลูกอย่างง่ายๆ รู้จักใช้วัสดุในครัวเรือนและท้องถิ่น

เป็นสื่อ –อุปกรณ์ 

2.3 โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับผู้ปกครองและเด็ก

-  จัดขึ้นสำหรับเด็ก 4-6 ปี พร้อมด้วยพ่อแม่ ผู้ปกครอง 

-  มีวัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมให้พ่อแม่ผู้ปกครองใช้เวลาว่างร่วมกับลูกในการสนับสนุนความคิด

สร้างสรรค์ และสนุกกับกิจกรรม-ผลงานที่ลูกสร้างขึ้น

โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา

2.4 โครงการศูนย์ข้อมูลพ่อแม่ 

-  ดำเนินงานผ่านองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (NGO)

-  ภายใต้คำนิยาม “การศึกษาของพ่อแม่ (Parent Education) 

“โครงการพ่อแม่ในฐานะครู” (Parents as Teachers Program) และ

“โครงการสอนเด็กเล็กในบ้าน” (Home Instruction for Preschool Youngsters Program) 

-มีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้เข้าใจเรื่องความต้องการทางการศึกษาของเด็ก

2.5 โครงการ เฮดสตาร์ท (Head Start)

-  เป็นโครงการระดับชาติที่ให้บริการด้านพัฒนาการแก่เด็กอายุ 3-5 ปี ที่พ่อแม่มีรายได้น้อย 

และบริการด้านสังคม

-  เน้นเรื่องการศึกษา พัฒนาการด้านอารมณ์ สังคม สุขภาพกาย จิตใจและโภชนาการ

-  มีวัตถุประสงค์ คือ สร้างครอบครัวให้เข้มแข็งในการอบรมเลี้ยงดูเด็กขั้นต้น

2.6 โครงการ โฮมสตาร์ท (Home Start Program) 
-  เป้าหมายคือ เพื่อสร้างความสำนึกให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของตนที่มีต่อเด็ก 
-  ช่วยเหลือสนับสนุนให้ครอบครัวมีความสามารถดูแลเด็กอย่างถูกต้องและมีสมรรถภาพ
2.7 โครงการสมาร์ท สตาร์ท (Smart Start)
- ก่อตั้งโดยนายจิม ฮั้น ผู้ว่าการมลรัฐแคโรไลนาเหนือ ปัจจุบันกระทรวงทรัพยากรมนุษย์
เป็นผู้ดำเนินโครงการ 
-  โดยมีเป้าหมายทำให้เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี มีสุขภาพและความพร้อมที่จะเรียนให้สำเร็จ
2.8 โครงการ Brooklyne Early Childhood
-  ดำเนินการโดย Brooklyne Public School ซึ่งได้รับความร่วมมือจากศูนย์การแพทย์ในโรงพยาบาลเด็ก 
-  จัดให้มีการตรวจสุขภาพเด็กเบื้องต้นเพื่อให้สามารถรักษาดูแลความเจ็บป่วย
ความพิการหรือข้อบกพร่องต่างๆ ในระยะต้นได้
-  ยังให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการเลี้ยงดูเด็กอย่างถูกวิธี และวิธีการจัดการศึกษา
ให้แก่เด็กอายุ 2 ขวบขึ้นไป
โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศนิวซีแลนด์
2.9 โครงการ เพลย์เซ็นเตอร์
-  ปรัชญาในการทำงานคือ
     “พ่อแม่คือครูคนแรก และเป็นครูที่ดีที่สุดของลูก”
-  เป็นโครงการที่พ่อแม่ไปมีส่วนร่วมด้วยทั้งหมด นับตั้งแต่การจัดตั้ง การบริหาร การดำเนินงาน
2.10 โครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
-  เป็นโครงการที่โรงเรียนจัดนิทรรศการสำหรับผู้ปกครอง เพื่ออธิบายถึงปรัชญาที่เป็นรากฐาน
ของการศึกษาปฐมวัย และนโยบายเรื่องประโยชน์ของการศึกษาที่มีต่อผู้ปกครอง 
2.11 โครงการ “พ่อแม่คือครูคนแรก” (Parents as First Teachers)
-  ให้ความช่วยเหลือแนะนำและให้ข้อมูลแก่พ่อแม่ให้มีความรู้ความเข้าเข้าใจพัฒนาการ
ของเด็กก่อนเกิดและตั้งแต่เกิดถึง 3 ขวบ
-โครงการนี้จะคัดเลือกพ่อแม่ที่ผ่านการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจอย่างดีมาเป็นผู้เชี่ยวชาญ
ที่เรียกว่า “พ่อแม่นักการศึกษา”  
โครงการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองประเทศออสเตรเลีย
-  มีรูปแบบในการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในลักษณะที่เรียกว่า (Early Childhood Center) 
หรือ ศูนย์สุขภาพเด็ก (Baby Health Center)
-  ให้บริการคำแนะนำฟรีสำหรับพ่อแม่และทารกจนถึง 5 ปี 
-  เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์จะเป็นพยาบาลทั่วไป
-  มีการจดบันทึกข้อมูลเด็กลงในสมุดสีฟ้า (blue book) ซึ่งเด็กทุกคนต้องมีสมุดเล่มนี้
โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ (Bookstart UK)
-  ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2535 โดย นางเวนดี้ คูลลิ่ง ภายใต้ 
บุ๊คทรัสต์  ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่มีจุดมุ่งหมายในการ นำหนังสือสู่คน นำคนสู่หนังสือ
-มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กทารกในอังกฤษทุกคนได้รับโอกาสและสนับสนุนให้พัฒนา
ความรู้สึกรักหนังสือและการอ่านไปตลอดชีวิต 
โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศญี่ปุ่น (Bookstart Japan)
-   มีศูนย์สนับสนุนบุ๊คสตาร์ทเป็นเจ้าของโครงการ
-  มีหลักการว่า "ภาษามีความสำคัญต่อการหล่อเลี้ยงจิตใจเด็ก เด็กเล็กต้องการอ้อมกอดอันอบอุ่น
และเสียงพูดคุยอย่างอ่อนโยน"
- โครงการบุ๊คสตาร์ทสนับสนุนสัมผัสอันอบอุ่นโดยมี “หนังสือภาพ” เป็นสื่อกลาง 
การนำไปประยุกต์ใช้

   เด็กเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่จะพัฒนาประเทศในอนาคต ดังนั้น การอบรมเลี้ยงดูให้เด็กเติบโต

อย่างมีคุณภาพจึงเป็นสอ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก พ่อแม่ ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญในการอบรม

เลี้ยงดูเด็ก จึงควรมีการจัดโครงการที่ให้ความรู้ที่ถูกต้องกับพ่อแม่ผู้ปกครอง

การประเมิน

ตนเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน มีการจดบันทึกความรู้เพิ่มเติม มีการตอบคำถามและ

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน

เพื่อน : มีการพูดคุยบ้างระหว่างการเรียน บางคนมีการจดเกร็ดความรู้ บางคนนั่งฟังอย่างเดียว

อาจารย์ : มีการสรุปเนื้อหาและอธิบายรายละเอียดของโครงการต่างๆได้เป็นอย่างดี

คำถามท้ายบท

1. ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมาย
ร่วมกันอย่างไร

ตอบ  ยึดหลักความร่วมมือระหว่างบ้าน โรงเรียน ชุมชนและสังคมจากภาครัฐและภาคเอกชน 
เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาเด็กปฐมวัยให้ไปในทิศทางเดียวกัน 

2. นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จ
อย่างเป็นรูปธรรม จงอธิบาย

ตอบ หากจะจัดโครงการขึ้นมา จะมีการสอบถามก่อนว่า ผู้ปกครองต้องการคำแนะนำเรื่องใด เพื่อให้ตรงตามความต้องการซึ่งจะเป็นแรงผลักให้ผู้ปกครองมาเข้าร่วมโครงการ จากนั้นสรุปผลการสอบถาม เริ่มดำเนินโครงการโดยการประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มเป้าหมาย กำหนดวันที่สะดวกต่อผู้ปกครอง ลงพื้นที่ให้ความรู้ และสรุปผลการทำโครงการ ตรวจสอบปัญหาที่พบระหว่างดำเนินโครงการ

3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต
จงยกตัวอย่างขององค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครอง
เพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็ก มา 5 เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ  

ตอบ  เรื่องที่ 1: การใช้นิทานกับเด็กปฐมวัย
โดยสอนวิธีการใช้หนังสือนิทานในการสอนเด็กอาทิ การเลือกนิทานที่สอนการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
ของเด็ก การใช้เสียงในการเล่านิทาน การจับหนังสือนิทาน เป็นต้น 
          เรื่องที่ 2 : การทำสื่อจากของเหลือใช้
โดยการสอนทำสือสำหรับให้ความรู้กับเด็กที่ทำจากของเหลือใช้ เพื่อให้ผู้ปกครองประหยัดค่าใช้จ่ายใน
การซื้อสื่อที่มีราคาสูง อาทิ การทำที่เคาะจังหวะจากขวดนำ้ เป็นต้น
          เรื่องที่ 3 : การล้างมือที่ถูกสุขลักษณะ
โดยการจัดทำเอกสารหรือแผ่นพับเพื่อให้ความรู้ อาจมีการใช้เพลงเพื่อให้จดจำขั้นตอนการล้างมือได้
ง่ายขึ้น 
          เรื่องที่ 4 : ลูกต้องการความอบอุ่น
โดยการจัดกิจกรรมที่พ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมกับเด็กได้ ให้ผู้ปกครองกับเด็กมี
ปฏิสัมพันธ์ต่อกันมากที่สุด อาจเป็นการให้สร้างชิ้นงานเป็นของครอบครัวตนเอง อาจเป็นเกมที่ได้เล่น
ร่วมกัน เพื่อให้เด็กรู้สึกอบอุ่นเมื่อพ่อแม่เอาใจใส่เขา
         เรื่องที่ 5 : การใช้เพลงกับลูกน้อย
โดยการสอนให้ผู้ปกครองรู้จักบทเพลงที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ชีวิตของเด็ก เพราะเพลงถือว่าเป็นสื่อ
ในการสอนที่แยบยลทีเดียว

4. การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร  จงอธิบาย

ตอบ ส่งผลต่อเด็ก เนื่องจาก พ่อแม่ ผู้ปกครองเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเด็กมากที่สุด เป็นครูคนแรกของลูก
ทุกคน หากพ่อแม่เลี้ยงลูกได้ถูกต้องเหมาะสมกับวัยและพัฒนาการแล้ว ลูกย่อมเติบโตมาอย่างมี
ศักยภาพ

5. นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร จงอธิบาย

ตอบ  สังเกตและจดบันทึก สิ่งที่เปลี่ยนแปลงหลังจากเข้าร่วมโครงการ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 ประจำวัน พุธ ที่ 22 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ความรู้ที่ได้รับ         ในคาบนี้เป็นการรายงานผลการ...