Flashy Pink Star

วันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรูครั้งที่ 3


บันทึกการเรียนรูครั้งที่ 3
ประจำวันพุธ ที่ 30 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

บทที่ 3  การสื่อสารกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย

     การสื่อสาร  (Communication) คือ กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร 
มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมาโดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่ง
ต้องการ 
ความสำคัญของการสื่อสาร
1.ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
2.ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
3.ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
4.ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ

5.ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต
องค์ประกอบของการสื่อสาร
1.ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง
สื่อ
        ใช้วิธีพูด-เขียน หรือการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น ใช้รูปภาพ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ 
โดยวิธีการติดต่อนั้นต้องใช้ตัวกลางต่างๆ เช่น คลื่นเสียง ตัวหนังสือ แผ่นกระดาษที่มีตัวหนังสือเขียน  
คลื่นวิทยุโทรทัศน์    ตัวกลางเหล่านี้เรียกว่า สื่อ 
สาร
        คือ เรื่องราวที่รับรู้ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น  ข้อเท็จจริง  ข้อแนะนำ  การล้อเลียน  ความปรารถนาดี  
ความห่วงใย  มนุษย์จะแสดงออกมาให้เป็นที่รับรู้ได้ การสื่อสารจะเกิดขึ้นตามกาลเทศะ  
และสภาพแวดล้อมต่างๆในสังคม
วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
1. เพื่อแจ้งให้ทราบ หมายถึง การสื่อสารที่ผู้ส่งสารจะแจ้ง หรือบอกกล่าวข่าวสาร ข้อมูล เหตุการณ์
 ความคิด ความต้องการของตนให้ผู้รับได้ทราบ
2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา หมายถึง การสื่อสารที่มุ่งจะให้ผู้รับมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางด้าน
องค์ความรู้ ความคิด สติปัญญา ฉะนั้นจึงมุ่งเน้นไปที่การเรียนการสอนหรือการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ
โดยเฉพาะ
3. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง หมายถึง การสื่อสารที่มุ่งให้เกิดผลทางจิตใจหรืออารมณ์ 
ความรู้สึกแก่ผู้รับสาร ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้ส่งสารมีข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับสาร 
และมีกลวิธีในการนำเสนอเป็นที่พอใจ
4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ มุ่งเน้นให้ผู้รับสารมีพฤติกรรมคล้อยตาม หรือยอมรับปฏิบัติตาม
ประเภทของการสื่อสาร
1.จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร
1.1 การสื่อสารทางเดียว (One-Way Communication)
1.2 การสื่อสารสองทาง (Two-way Communication) 
2. จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก
2.1 การสื่อสารเชิงวัจนะ (Verbal Communication) คือ การใช้คำพูดในการสื่อสาร

2.2 การสื่อสารเชิงอวัจนะ (Non-Verbal Communication) คือ การใช้ท่าทางหรือการแสดงออกทางกาย
เพื่อสื่อสาร 
3. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร
3.1 การสื่อสารส่วนบุคคล (Intrapersonal Communication)
3.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication)
3.3 การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) 
การสื่อสารกับตนเอง
      การสื่อสารที่บุคคลเดียวเป็นทั้งผู้ส่งสารและรับสาร อาจเป็นการปลอบใจตนเอง 
การเตือนตนเอง การวางแผน หรือแก้ปัญหาใดๆ
การสื่อสารระหว่างบุคคล
     เป็นการสื่อสารของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ไม่ถึงกับเป็นกลุ่มเป็นเรื่องเฉพาะระหว่างบุคคล อาจไม่
เกี่ยวข้องหรือเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น อาจเป็นความลับระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารเท่านั้น สารที่สื่ออาจ
เปิดเผยหากมีประโยชน์ต่อบุคคลอื่น
การสื่อสารสาธารณะ
      มีเป้าหมายจะส่งสารสู่สาธารณชน มีเนื้อหาที่อาจให้ความรู้และเป็นประโยชน์ ให้ความเข้าใจที
ถูกต้อง เป็นความคิดที่มีคุณค่าและเปิดเผยได้โดยไม่จำกัดเวลา เช่น การบรรยาย การปาฐกถา  
การอมรม การสอนในชั้นเรียน
การสื่อสารมวลชน
      ลักษณะสำคัญคล้ายการสื่อสารสาธารณะ   ต้องอาศัยสื่อที่มีอำนาจการกระจายสูง รวดเร็ว 
กว้างขวาง   เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ดาวเทียมและสื่อมวลชน   ต้องคัดเลือกเฉพาะข้อเท็จจริงหรือข้อคิดเห็น
ที่เห็นว่าควรนำเสนอ
การสื่อสารในครอบครัว
       เป็นการสื่อสารขั้นพื้นฐานของมนุษย์    ประสิทธิภาพของการสื่อสารขึ้นอยู่กับความตั้งใจดีของ
สมาชิกในครอบครัว  คุณธรรมที่ดีงามในครอบครัวจะช่วยพัฒนาการสื่อสารไปในทางดีงามเสมอ
ต้องยอมรับและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่แตกต่างกัน
การสื่อสารในโรงเรียน
      เนื้อหามักเกี่ยวกับวิชาการ พื้นฐานอาชีพและหลักการดำเนินชีวิต  มีทั้งการสื่อสารระหว่างบุคคล 
การสื่อสารในกลุ่มและการสื่อสารสาธารณะอาจใช้เวลานานเพราะเรื่องราวมีปริมาณมากอาจมีโอกาส
โต้แย้ง ถกเถียง ควรยอมรับข้อเท็จจริงและไม่ใช้อารมณ์
ธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
•  เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก
•  เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
•  มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
•  เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ
•  เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
•  ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
•  เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย 
ปัจจัยที่มีผลต่อการแสดงออกทางพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง
1.ความพร้อม 
2.ความต้องการ
3. อารมณ์และการปรับตัว
4. การจูงใจ
5. การเสริมแรง 
6. ทัศนคติและความสนใจ
7. ความถนัด 
7 c กับการสื่อสารที่ดี
•  Credibility ความน่าเชื่อถือ : สามารถทำให้ผู้รับสารเกิดความเชื่อถือในสารนั้น ๆ
•  Content เนื้อหาสาระ : มีสาระให้เกิดความพึงพอใจ เร่งเร้าและชี้แนะให้เกิดการตัดสินใจได้ในลักษณะ
อย่างไรบ้าง
•  Clearly ความชัดเจน : การเลือกใช้คำหรือข้อความที่เข้าใจง่าย ๆ ข้อความไม่คลุมเครือ
•  Context ความเหมาะสมกับโอกาส : การเลือกใช้ภาษาและใช้สิ่งที่ส่งสารเหมาะสม
•  Channel ช่องทางการส่งสาร : การเลือกวิธีการส่งข่าวสารได้เหมาะสมและรวดเร็วที่สุด
•  Continuity consistency ความต่อเนื่องและแน่นอน : การสื่อสารกระทำอย่างต่อเนื่องมีความแน่นอน
ถูกต้อง
•  Clarity of audience ความสามารถของผู้รับสาร : การเลือกใช้วิธีการส่งสารซึ่งมั่นใจว่าผู้รับสารจะ
สามารถรับสารได้ง่ายและสะดวกโดยคำนึงถึงความรู้ เจตคติ อุปนิสัย ทักษะการใช้ภาษา สังคม
วัฒนธรรมของผู้รับสารเป็นสำคัญ
คุณธรรมที่สำคัญในการสื่อสาร
•  ความมีสัจจะและไม่ล่วงละเมิดสิทธิซึ่งกันและกัน
•  ความรัก ความเคารพและความปรารถนาดีต่อกัน
•  ความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนพูดหรือกระทำ
•  เป็นกิริยาวาจาที่เรียบร้อยถูกต้องตามคตินิยมของสังคม
วิธีการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครอง
-  ศึกษาและพยายามทำตนให้เข้าใจกับผู้ปกครอง
-  พยายามเรียนรู้ความต้องการของเขา และหาแนวทางตอบสนองตามความเหมาะสม
-  พูดคุย พบปะกับผู้ปกครองในโอกาสต่างๆ
-  หาโอกาสไปร่วมงานพิธีทางศาสนา เข้าร่วมกิจกรรมกับผู้ปกครอง
-  ทำตนให้กลมกลืนกับผู้ปกครอง
-  มีท่าทีเป็นมิตรอยู่เสมอ
-  เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองร่วมกิจกรรม
การนำไปประยุกต์ใช้
      การเป็นครูนั้นการสื่อสารถือเป็นสิ่งที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารกับเด็ก กับครูด้วยกันเองและ
พ่อแม่ ผู้ปกครองของเด็ก หากการสื่อสารมีการผิดพลาดหรือขาดตกบกพร่องจะทำให้ความหมายที่
ต้องการจะสื่อสารผิดไปทันที ดังนั้นการสื่อสารแต่ละครั้งควรให้ถูกต้องและแม่นยำที่สุด
การประเมินผล
     ตนเอง : ตั้งใจฟังและร่วมปฏิบัติกิจกรรมในห้องเรียน
     เพื่อน : ทุกคนมีส่วนร่วมในกการปฏิบัติกิจกรรมในห้องเรียนร่วมกัน มีความสนุกสนาน
     อาจารย์ : ให้ความรู้ได้เป็นอย่างดี เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เล่นเพื่อเรียนรู้ด้วยตนเอง
คำถามท้ายบท
1.จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป
ตอบ  การสื่อสาร คือ กระบวนการส่องสารหรือข้อมูลเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างผู้ส่งและ
ผู้รับสาร การสื่อสารมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากทำให้ เราสามารถเข้าใจความหมายที่อีกฝ่าย
ต้องการจะสื่อสารได้และนำมาซึงความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย
2.การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร 
ตอบ การสื่อสารทำให้ครูและผู้ปกครองมีความเข้าใจตรงกัน เพื่อร่วมกันพัฒนาศักยภาพในตัวเด็กได้
อย่างเต็มท่ี่ ร่วมกันส่งเสริมและแก้ไขพฤติกรรมต่างๆของเด็กได้อย่างถูกต้อง
3.รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นรูปแบบใด 
จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล คือ ผู้ส่งสารส่งข่าวสารผ่านสื่อไปสู่ผู้รับสารและสังเกตปฏิกิริยา 
ตอบสนองของผู้รับสาร เช่น ครูแจ้งผู้ปกครองว่าบุตรหลานของท่านมีพัฒนาการที่ช้ากว่าวัยที่ควรจะเป็น
โดยการนำใบบันทึกผลการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายให้ผูปกครองดูแล้วผู้ปกครองยอมรับในสิ่งที่
ลูกเป็นและร่วมมือกับครูในการพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการตรงตามวัย
4.ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ •  เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก
       •  เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
       •  มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
       •  เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ
       •  เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
       •  ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
       •  เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย 
5.ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจ
เกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก ประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง
ตอบ  มีปัจจัย ดังนี้
1.ความพร้อม  คือ สภาพความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจที่จะเรียนรู้ โดยเตรียมความพร้อมในเรื่อง
ดังนี้ พื้นฐานประสบการณ์เดิม สร้างความสนใจเห็นเห็นถึงความสำคัญของความรู้ ส่งเสริมความเชื่อมั่น
ในการเรียนรู้
2. ความต้องการ คือ ความต้องการให้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีความสุข เช่น ต้องการให้ลูกมีสุขภาพที่
แข็งแรง มีการศึกษาที่ดี
3. อารมณ์และการปรับตัว คือ  แนวโน้มที่จะปฏิบัติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มี 2 ประเภทคือ  อารมณ์ทางบว
เช่น ดีใจ พอใจ ฯลฯ อารมณ์ทางลบ เช่น โกรธ เสียใจ หงุดหงิด  ซึ่งอารมณ์ทั้ง 2 นี้มีผลต่อการเรียนรู้ 
ดังนั้นควรปรับอารมณ์ให้เกิดความสมดุลพร้อมที่จะเรียนรู้
4. การจูงใจ หมายถึง การกระตุ้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้  เช่น ต้องการรู้เพื่อแก้ปัญหาลูกหลาน ต้องการรู้
เพื่อพัฒนาลูก ต้องการรู้เพื่อให้ลูกเป็นคนดี
5. การเสริมแรง คือ การสร้างความพึงพอใจหลังการเรียนรู้ให้แก่ผู้ปกครอง เช่น คำชมเชย รางวัล ฯลฯ
6. ทัศนคติและความสนใจ คือ การที่บุคคลมีการตอบสนองและแสดงความรู้สึกต่อสิ่งเร้าต่างๆ 
7. ความถนัด คือ ความสามารถของบุคคลในการทำกิจกรรมให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 ประจำวัน พุธ ที่ 22 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ความรู้ที่ได้รับ         ในคาบนี้เป็นการรายงานผลการ...