Flashy Pink Star

วันเสาร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
ประจำวัน พุธ ที่ 13 เดือน กันยายน พ..2560

ความรู้ที่ได้รับ

บทที่ 5 รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองในสถานศึกษา
สถานศึกษาปฐมวัยจะต้องทำหน้าที่และร่วมกันรณรงค์เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาและการมีส่วนร่วมกับการศึกษาปฐมวัย

รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน

ข่าวสารประจำสัปดาห์
                                                                                     ประกอบด้วยรายละเอียด ดังนี้


- รายละเอียดของสาระการเรียนรู้และกิจกรรมที่สถานศึกษาวางแผนไว้ประจำสัปดาห์
- พัฒนาการและการเรียนรู้ที่เด็กได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม
- กิจกรรมครอบครัว เป็นกิจกรรมที่พ่อแม่ ร่วมทำกับเด็กโดยในข่าวสารจะเสนอแนะกิจกรรมต่างๆ เช่น ประดิษฐ์ของเล่นสำหรับเด็ก เกม วาดภาพระบายสี เพลงคำคล้องจอง ปริศนาคำทาย ฯลฯ
- เรื่องน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง เป็นการให้ข้อมูลความรู้เพื่อนำไปอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการเด็กหรือแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเด็ก
- ข้อเสนอแนะของผู้ปกครอง เป็นการให้ผู้ปกครองแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อเป็น                                                                                           ข้อมูลในการสนับสนุนและพัฒนาเด็กให้ดียิ่งขึ้น


จดหมายข่าวและกิจกรรม

เป็นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่อง ดังนี้
- ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็กและผู้ปกครอง
- กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการสำหรับผู้ปกครอง เช่น นิทาน ศิลปะ ภาษา ฯลฯ
- ความรู้สำหรับผู้ปกครอง ฯลฯ

การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า 3 ปี ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย
โครงการภายใต้งานวิจัยของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เกิดจากความต้องการให้ครอบครัวเป็นหลักของการพัฒนาเด็กในช่วงอายุต่ำกว่า 3 ปี ด้วยการให้พ่อแม่ ผู้ปกครองเป็นผู้เลี้ยงดูที่มีคุณภาพ โดยใช้รูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ
            - วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
            - วิธีการสนทนากลุ่ม
            - วิธีอภิปรายกลุ่ม
            - วิธีการบรรยาย          

โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
ดำเนินงานโดยสำนักสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต เป็นโครงการที่มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย โดยผลักดันให้ครอบครัวมีส่วนร่วมที่สำคัญ ด้วยการจัดทำชุดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กและเยาวชนไทย เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง ประกอบด้วย
            - แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
            - คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
            - หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
            - ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง  “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
            - จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง  “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์

ป้ายนิเทศให้ความรู้ผู้ปกครอง

จัดเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครองอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งสามารถจัดได้บริเวณหน้าชั้นเรียนของทุกห้องเรียน โดยนำข้อมูลความรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้ปกครอง จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย




การสนทนา

การสนาเป็นรูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่เข้าถึงและตรงมากที่สุด การสนทนาเป็นแนวทางหนึ่งของการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีเพื่อผู้ปกครอง และช่วยในการให้ความรู้ผู้ปกครองเป็นไปได้อย่างราบรื่น โดยมีวัตถุประสงค์ในการสนทนาดังนี้
- เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้มีโอกาสพบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเด็ก
- เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงแนวทางการดำเนินงานของโรงเรียน

            - เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมเด็กขณะที่อยู่ที่โรงเรียนและที่บ้าน







รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษา

ห้องสมุดผู้ปกครอง

เป็นสถานที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารต่างๆ อันเป็นแหล่งเรียนรู้ อีกรูปแบบหนึ่งของการให้บริการเผยแพร่ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงที่ทันสมัยสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง



ป้ายนิเทศ

ป้ายนิเทศในลักษณะนี้เป็นป้ายที่จัดเพื่อให้ความรู้และข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ปกครองทั้งสถานศึกษา ลักษณะของป้ายประกอบด้วย ภาพ ตัวอักษร ของจริง แผนภูมิ สถิติ ฯลฯ




นิทรรศการ

เป็นรูปแบบที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสถานศึกษาให้แก่ผู้ปกครองได้อย่างกว้างขวางรูปแบบหนึ่งด้วยการใช่สื่อหรืออุปกรณ์หลายชนิดในการถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสารเช่น ภาพเขียน ภาพถ่าย สถิติ หุ่น ผลงานเด็ก ภาพยนตร์ วีดีโอและซีดีซึ่งมีรูปแบบของนิทรรศการที่สามารถจัดได้ในสถานศึกษาดังนี้
                        - นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์
                        - นิทรรศการเพื่อให้ความรู้
                        - นิทรรศการเพื่อความบันเทิง 




 มุมผู้ปกครอง

มีเป้าหมายสำคัญของการจัดมุมผู้ปกครองคือ
- เพื่อให้ผู้ปกครองได้ใช้เวลาว่างระหว่างการรอรับ-ส่งเด็ก ให้เกิดประโยชน์ด้วยการอ่านหนังสือ
- เป็นบริเวณที่ให้ผู้ปกครองได้สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างผู้ปกครองด้วยกัน


การประชุม
        
         เป็นกิจกรรมหลักของสถานศึกษาที่สามารถใช้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหรือให้ความรู้แก่ผู้ปกครองได้ดีที่สุด ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินงานของถานศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายเพื่อแถลงนโยบายการจัดการศึกษาของสถานศึกษา แลกเปลี่ยนทัศนคติระหว่าสถานศึกษากับผู้ปกครอง แจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงาน ประสานงานและทำความเข้าใจกับผู้ปกครองสร้างความสามัคคีระหว่างผู้ปกครองกับครู รวมทั้งพัฒนาความรู้ความเข้าใจกับผู้ปกครองเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก การจัดการศึกษา ฯลฯ



 จุลสาร

เป็นลักษณะของสิ่งพิมพ์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในทุกๆ ด้าน ให้แก่ผู้ปกครองได้รับทราบความเคลื่อนไหวและเพื่อประชาสัมพันธ์ เนื้อหาในจุลสารจะประกอบไปด้วย 4 ส่วน คือ ส่วนของบรรณาธิการ  เรื่องราวของเด็กๆ บทความรู้ และเบ็ดเตล็ด



คู่มือผู้ปกครอง

เป็นเอกสารที่ให้ความรู้ผู้ปกครองได้รับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา โดยจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มเหมือนหนังสือทั่วไป



 ระบบอินเทอร์เน็ต

เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร เวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ใช้เพื่อการเรียนการสอน และเวิลด์ไวด์เวป  (WWW.)  การใช้อินเทอร์เน็ตในการให้ความรู้ผู้ปกครองนับเป็นบริการด้านหนึ่งที่สถานศึกษาสามารถจัดทำในรูปแบบ เวิลด์ไวด์เวป  บริการให้ความรู้ผู้ปกครองผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่สถานศึกษาบรรจุลงในเว็บไซต์



           คำศัพท์น่ารู้

Weekly news               ข่าวสารประจำสัปดาห์
Newsletter                    จดหมายข่าว
Bulettin board             ป้ายนิเทศ
Conversation               การสนทนา
Exhibition                    นิทรรศการ
Parent Guide                คู่มือผู้ปกครอง
Meeting                       การประชุม
booklet                        จุลสาร
Parents Corner             มุมผู้ปกครอง
Parent library               ห้องสมุดผู้ปกครอง

การนำไปประยุกต์ใช้
           
      การเป็นครูอนุบาลนั้นต้องมีการติดต่อ ขอความร่วมมือจากผู้ปกครอง จึงต้องมีการแจ้งข่าวสารต่างๆกับผู้ปกครองเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาและพัฒนาเด็ก ทั้งนี้การแจ้งข่าวสารกับผู้ปกครองเราสามารถทำได้หลายวิธี อาทิ การจัดป้ายนิเทศสรุปหน่วยการเรียนเพื่อแสดงถึงเนื้อหาที่เด็กได้เรียนในแต่ละหน่วย การทำเว็บไซต์ของโรงเรียนเพื่อความสะดวกและรวดแร็วในการแจ้งข้อมูลต่างๆ เป็นต้น

การประเมินผล

ตนเอง : ตั้งใจฟัง มีการจดเพิ่มเติมจากที่อาจารย์สอน ร่วมตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน ร่วมกับเพื่อนและอาจารย์
เพื่อน ตั้งใจฟัง มีสนทนากันบ้างระหว่างเรียน มีแสดงความคิเห็นร่วมกันและตอบคำถามของอาจารย์
อาจารย์ มีการเตรียมสื่อการสอน มีการอธิบายเนื้อหาจากสื่อที่เตรียมมา มีการยกตัวอย่างช่วยให้เข้าใจมากขึ้น


คำถามท้ายบท

1.รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน ครูประจำชั้นควรพิจารณาในการเลือกใช้รูปแบบใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ    รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน มีดังนี้  การสนทนา การจัดป้ายนิเทศ การจัดป้ายข่าวสารประจำสัปดาห์ การจัดทำจดหมายข่าวและกิจกรรม
ตัวอย่างการให้ความรู้ผู้ปกครอง
ใช้การจัดป้ายนิเทศบริเวณหน้าห้องเรียน เนื่องจาก เวลาที่ผู้ปกครองมารับหรือมาส่งเด็ก ผู้ปกครองสามารถอ่านได้ หรือระหว่างที่รอเด็กทำกิจกรรม ผู้ปกครองสามารถมาอ่านความรู้ต่างๆเพื่อรอเวลาได้
ใช้การสนาซึ่งเป็นรูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่เข้าถึงและตรงมากที่สุด การสนทนาเป็นแนวทางหนึ่งของการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับผู้ปกครอง อาจใช้ในชวงที่ผู้ปกครองมารับเด็กเพื่อเล่าถึงพฤติกรรมของเด็กในแต่ละวัน

2. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษามีรูปแบบใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ   รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษา มีดังนี้ ห้องสมุดผู้ปกครอง ป้ายนิเทศ นิทรรศการ มุมผู้ปกครอง การประชุม จุลสาร
ตัวอย่างการให้ความรู้ผู้ปกครอง
            ใช้การประชุมประจำปี เพื่อแจ้งถึงนโยบายต่างๆของโรงเรียน แจ้งข่าวสารต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อตัวผู้เรียน แจ้งแนวทางในการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียน รวมทั้งการขอความร่วมมือจากผู้ปกครอง

3. นักศึกษามีวิธีการหรือแนวทางแก้ปัญหาผู้ปกครองที่ไม่ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครอง จงอธิบาย   
ตอบ    ใช้การให้ความรู้ที่หลากหลายช่องทาง อาทิ การสนทนา การจัดป้ายนิเทศ การแจ้งในเว็บไซต์  หากยังไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร จะใช้เวลาในช่วงที่ผูปกครองมารับเด็กขอพูดคุยกับผู้ปกครอง เมื่อพูดคุยกันเสร็จแล้วจึงจะอนุญาตให้เด็กกลับบ้านกับผู้ปกครองได้

4. การจัดกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครองมีความสำคัญและจำเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ  การให้ความรู้กับผู้ปกครองนั้นถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตได้อย่างมีคุณภาพและมีศักยภาพอย่างเต็มเปี่ยม ผู้ปกครองควรมีความรู้ในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ควรทราบถึงพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กทั้งในด้านที่ดีและด้อย เพื่อร่วมกันแก้ปัญหา พัฒนาและส่งเสริม

5. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพ มีลักษณะของรูปแบบอย่างไร จงอธิบายพร้อมแสดงความคิดเห็น
ตอบ มีลักษณะบรรลุเป้าหมาย คือ เมื่อผู้ปกครองได้รับความรู้แล้ว สามารถนำไปแก้ไข พัฒนาและส่งเสริมบุตรหลานของตนได้ ยกตัวอย่างเช่น พ่อแม่เข้าร่วมโครงการสอนประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุเหลือใช้ ที่โรงเรียนจัดขึ้น เนื่องจากฐานะทางบ้านค่อนข้างยากจน เมื่อเข้ารับารอบรมแล้วพ่อแม่สามารถไปประดิษฐ์ของเล่น หรือ ไปปรับปรุงของที่มีอยู่เดิม ให้ลูกเล่นได้ นอกจากลูกจะได้ของเล่นที่แปลกใหม่ ไม่เหมือนใครแล้วยังช่วยประหยัเงินในการซื้อของเล่นราคาแพงได้อีกด้วย





วันเสาร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4


บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

ประจำวัน จันทร์ ที่ 4 เดือน กันยายน พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

บทที่ 4 โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ

1.โครงการ การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในประเทศไทย

มีโครงการต่างๆ ดังนี้

1.1 โครงการ   แม่สอนลูก
  - ดำเนินการโดยกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ
  - จัดสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาส โดยให้มารดาเป็นผู้สอนเองที่บ้าน

  - ใช้วิธีการแนะนำให้รู้จักใช้ทักษะ รู้จักคิดและเรียนรู้มโนทัศน์ด้านต่างๆ
  - เนื้อหากิจกรรมในโปรแกรมนี้ เป็นกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก  
1.2 การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า 3 ปี 
ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย
-  เป็นโครงการภายใต้งานวิจัยของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
-  เกิดจากความต้องการให้ครอบครัวเป็นหลักของการพัฒนาเด็กในช่วงอายุต่ำกว่า 3 ปี 
-  ใช้รูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ  วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการ
มีส่วนร่วม   วิธีการสนทนากลุ่ม  วิธีอภิปรายกลุ่มและวิธีการบรรยาย  
1.3 โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
-  ดำเนินงานโดยสำนักสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต 
-  มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย โดยผลักดันให้ครอบครัวมีส่วนร่วม
-  มีการจัดทำชุดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กและเยาวชนไทย
1.4 โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความข็มแข็งของครอบครัว “บ้านล้อมรัก”
-  ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
-  เพื่อสร้างความเข้าใจบทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครองในการดูแลเอาใจใส่บุตรหลานให้ปลอดภัยและห่าง
ไกลจากยาเสพติด 
1.5 โครงการหนังสือเล่มแรก (Bookstart Thailand)
-  โดยการริเริ่มของมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก 
-  มีเป้าหมายที่จะให้พ่อแม่ลูกมีความสุขร่วมกันในโลกของหนังสือ สร้างพื้นฐานการอ่านและ
สานสัมพันธ์ในครอบครัว
-  มีการรณรงค์โครงการโดยการจัดทำถุงบุ๊คสตาร์ท (book start) ติดตามประเมินผลครอบครัวในโครงการ


1.6 โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว

-  เป็นการดำเนินงานร่วมกันของกรมการพัฒนาชุมชน กรมการศึกษานอกโรงเรียน กรมอนามัย 

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

-  มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ให้พ่อแม่ สมาชิกในครอบครัว เยาวชนในท้องถิ่นที่

เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กให้เจริญเติบโต มีพัฒนาการตามวัย

2.โครงการ การให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ

โครงการ การให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล

2.1 โครงการศูนย์ส่งเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัยที่เรียกว่า ALEH  

(Early Childhood Enrichment Center)

โดยศูนย์ ALEH จะมีกิจกรรมช่วยพ่อแม่ผู้ปกครอง ดังนี้

-  สอนแม่ที่อายุยังน้อยให้รู้จักใช่สื่อ-อุปกรณ์ (ของเล่น) เกมการเล่นเพื่อพัฒนาเด็ก

-  จัดกิจกรรมสอนให้แม่ทำของเล่นให้ลูกหรือคิดสร้างเกมการเล่นกับลูก

2.2 โครงการเสนอแนะให้แม่สอนลูก เลี้ยงลูกอย่างไรให้ถูกวิธี

-  โดยโครงการนี้ชื่อ HATAF โปรแกรม

-  เป็นโครงการที่ร่วมมือกันทำระหว่างมหาวิทยาลัยเยรูซาเล็มกับกระทรวงศึกษาธิการ

-  จัดรูปแบบการสอนพ่อแม่ที่มีลูกอายุ 1-3ปี

-  ให้พ่อแม่ได้พัฒนาทักษะการพูด-คุยกับลูก ได้เรียนรู้พัฒนาการทั้งทางด้านสติปัญญา อารมณ์และ

สังคม  สอนให้พ่อแม่จัดบรรยากาศสิ่งแวดล้อมให้ลูกอย่างง่ายๆ รู้จักใช้วัสดุในครัวเรือนและท้องถิ่น

เป็นสื่อ –อุปกรณ์ 

2.3 โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับผู้ปกครองและเด็ก

-  จัดขึ้นสำหรับเด็ก 4-6 ปี พร้อมด้วยพ่อแม่ ผู้ปกครอง 

-  มีวัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมให้พ่อแม่ผู้ปกครองใช้เวลาว่างร่วมกับลูกในการสนับสนุนความคิด

สร้างสรรค์ และสนุกกับกิจกรรม-ผลงานที่ลูกสร้างขึ้น

โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา

2.4 โครงการศูนย์ข้อมูลพ่อแม่ 

-  ดำเนินงานผ่านองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (NGO)

-  ภายใต้คำนิยาม “การศึกษาของพ่อแม่ (Parent Education) 

“โครงการพ่อแม่ในฐานะครู” (Parents as Teachers Program) และ

“โครงการสอนเด็กเล็กในบ้าน” (Home Instruction for Preschool Youngsters Program) 

-มีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้เข้าใจเรื่องความต้องการทางการศึกษาของเด็ก

2.5 โครงการ เฮดสตาร์ท (Head Start)

-  เป็นโครงการระดับชาติที่ให้บริการด้านพัฒนาการแก่เด็กอายุ 3-5 ปี ที่พ่อแม่มีรายได้น้อย 

และบริการด้านสังคม

-  เน้นเรื่องการศึกษา พัฒนาการด้านอารมณ์ สังคม สุขภาพกาย จิตใจและโภชนาการ

-  มีวัตถุประสงค์ คือ สร้างครอบครัวให้เข้มแข็งในการอบรมเลี้ยงดูเด็กขั้นต้น

2.6 โครงการ โฮมสตาร์ท (Home Start Program) 
-  เป้าหมายคือ เพื่อสร้างความสำนึกให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของตนที่มีต่อเด็ก 
-  ช่วยเหลือสนับสนุนให้ครอบครัวมีความสามารถดูแลเด็กอย่างถูกต้องและมีสมรรถภาพ
2.7 โครงการสมาร์ท สตาร์ท (Smart Start)
- ก่อตั้งโดยนายจิม ฮั้น ผู้ว่าการมลรัฐแคโรไลนาเหนือ ปัจจุบันกระทรวงทรัพยากรมนุษย์
เป็นผู้ดำเนินโครงการ 
-  โดยมีเป้าหมายทำให้เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี มีสุขภาพและความพร้อมที่จะเรียนให้สำเร็จ
2.8 โครงการ Brooklyne Early Childhood
-  ดำเนินการโดย Brooklyne Public School ซึ่งได้รับความร่วมมือจากศูนย์การแพทย์ในโรงพยาบาลเด็ก 
-  จัดให้มีการตรวจสุขภาพเด็กเบื้องต้นเพื่อให้สามารถรักษาดูแลความเจ็บป่วย
ความพิการหรือข้อบกพร่องต่างๆ ในระยะต้นได้
-  ยังให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการเลี้ยงดูเด็กอย่างถูกวิธี และวิธีการจัดการศึกษา
ให้แก่เด็กอายุ 2 ขวบขึ้นไป
โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศนิวซีแลนด์
2.9 โครงการ เพลย์เซ็นเตอร์
-  ปรัชญาในการทำงานคือ
     “พ่อแม่คือครูคนแรก และเป็นครูที่ดีที่สุดของลูก”
-  เป็นโครงการที่พ่อแม่ไปมีส่วนร่วมด้วยทั้งหมด นับตั้งแต่การจัดตั้ง การบริหาร การดำเนินงาน
2.10 โครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
-  เป็นโครงการที่โรงเรียนจัดนิทรรศการสำหรับผู้ปกครอง เพื่ออธิบายถึงปรัชญาที่เป็นรากฐาน
ของการศึกษาปฐมวัย และนโยบายเรื่องประโยชน์ของการศึกษาที่มีต่อผู้ปกครอง 
2.11 โครงการ “พ่อแม่คือครูคนแรก” (Parents as First Teachers)
-  ให้ความช่วยเหลือแนะนำและให้ข้อมูลแก่พ่อแม่ให้มีความรู้ความเข้าเข้าใจพัฒนาการ
ของเด็กก่อนเกิดและตั้งแต่เกิดถึง 3 ขวบ
-โครงการนี้จะคัดเลือกพ่อแม่ที่ผ่านการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจอย่างดีมาเป็นผู้เชี่ยวชาญ
ที่เรียกว่า “พ่อแม่นักการศึกษา”  
โครงการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองประเทศออสเตรเลีย
-  มีรูปแบบในการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในลักษณะที่เรียกว่า (Early Childhood Center) 
หรือ ศูนย์สุขภาพเด็ก (Baby Health Center)
-  ให้บริการคำแนะนำฟรีสำหรับพ่อแม่และทารกจนถึง 5 ปี 
-  เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์จะเป็นพยาบาลทั่วไป
-  มีการจดบันทึกข้อมูลเด็กลงในสมุดสีฟ้า (blue book) ซึ่งเด็กทุกคนต้องมีสมุดเล่มนี้
โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ (Bookstart UK)
-  ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2535 โดย นางเวนดี้ คูลลิ่ง ภายใต้ 
บุ๊คทรัสต์  ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่มีจุดมุ่งหมายในการ นำหนังสือสู่คน นำคนสู่หนังสือ
-มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กทารกในอังกฤษทุกคนได้รับโอกาสและสนับสนุนให้พัฒนา
ความรู้สึกรักหนังสือและการอ่านไปตลอดชีวิต 
โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศญี่ปุ่น (Bookstart Japan)
-   มีศูนย์สนับสนุนบุ๊คสตาร์ทเป็นเจ้าของโครงการ
-  มีหลักการว่า "ภาษามีความสำคัญต่อการหล่อเลี้ยงจิตใจเด็ก เด็กเล็กต้องการอ้อมกอดอันอบอุ่น
และเสียงพูดคุยอย่างอ่อนโยน"
- โครงการบุ๊คสตาร์ทสนับสนุนสัมผัสอันอบอุ่นโดยมี “หนังสือภาพ” เป็นสื่อกลาง 
การนำไปประยุกต์ใช้

   เด็กเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่จะพัฒนาประเทศในอนาคต ดังนั้น การอบรมเลี้ยงดูให้เด็กเติบโต

อย่างมีคุณภาพจึงเป็นสอ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก พ่อแม่ ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญในการอบรม

เลี้ยงดูเด็ก จึงควรมีการจัดโครงการที่ให้ความรู้ที่ถูกต้องกับพ่อแม่ผู้ปกครอง

การประเมิน

ตนเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน มีการจดบันทึกความรู้เพิ่มเติม มีการตอบคำถามและ

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน

เพื่อน : มีการพูดคุยบ้างระหว่างการเรียน บางคนมีการจดเกร็ดความรู้ บางคนนั่งฟังอย่างเดียว

อาจารย์ : มีการสรุปเนื้อหาและอธิบายรายละเอียดของโครงการต่างๆได้เป็นอย่างดี

คำถามท้ายบท

1. ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมาย
ร่วมกันอย่างไร

ตอบ  ยึดหลักความร่วมมือระหว่างบ้าน โรงเรียน ชุมชนและสังคมจากภาครัฐและภาคเอกชน 
เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาเด็กปฐมวัยให้ไปในทิศทางเดียวกัน 

2. นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จ
อย่างเป็นรูปธรรม จงอธิบาย

ตอบ หากจะจัดโครงการขึ้นมา จะมีการสอบถามก่อนว่า ผู้ปกครองต้องการคำแนะนำเรื่องใด เพื่อให้ตรงตามความต้องการซึ่งจะเป็นแรงผลักให้ผู้ปกครองมาเข้าร่วมโครงการ จากนั้นสรุปผลการสอบถาม เริ่มดำเนินโครงการโดยการประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มเป้าหมาย กำหนดวันที่สะดวกต่อผู้ปกครอง ลงพื้นที่ให้ความรู้ และสรุปผลการทำโครงการ ตรวจสอบปัญหาที่พบระหว่างดำเนินโครงการ

3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต
จงยกตัวอย่างขององค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครอง
เพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็ก มา 5 เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ  

ตอบ  เรื่องที่ 1: การใช้นิทานกับเด็กปฐมวัย
โดยสอนวิธีการใช้หนังสือนิทานในการสอนเด็กอาทิ การเลือกนิทานที่สอนการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
ของเด็ก การใช้เสียงในการเล่านิทาน การจับหนังสือนิทาน เป็นต้น 
          เรื่องที่ 2 : การทำสื่อจากของเหลือใช้
โดยการสอนทำสือสำหรับให้ความรู้กับเด็กที่ทำจากของเหลือใช้ เพื่อให้ผู้ปกครองประหยัดค่าใช้จ่ายใน
การซื้อสื่อที่มีราคาสูง อาทิ การทำที่เคาะจังหวะจากขวดนำ้ เป็นต้น
          เรื่องที่ 3 : การล้างมือที่ถูกสุขลักษณะ
โดยการจัดทำเอกสารหรือแผ่นพับเพื่อให้ความรู้ อาจมีการใช้เพลงเพื่อให้จดจำขั้นตอนการล้างมือได้
ง่ายขึ้น 
          เรื่องที่ 4 : ลูกต้องการความอบอุ่น
โดยการจัดกิจกรรมที่พ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมกับเด็กได้ ให้ผู้ปกครองกับเด็กมี
ปฏิสัมพันธ์ต่อกันมากที่สุด อาจเป็นการให้สร้างชิ้นงานเป็นของครอบครัวตนเอง อาจเป็นเกมที่ได้เล่น
ร่วมกัน เพื่อให้เด็กรู้สึกอบอุ่นเมื่อพ่อแม่เอาใจใส่เขา
         เรื่องที่ 5 : การใช้เพลงกับลูกน้อย
โดยการสอนให้ผู้ปกครองรู้จักบทเพลงที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ชีวิตของเด็ก เพราะเพลงถือว่าเป็นสื่อ
ในการสอนที่แยบยลทีเดียว

4. การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร  จงอธิบาย

ตอบ ส่งผลต่อเด็ก เนื่องจาก พ่อแม่ ผู้ปกครองเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเด็กมากที่สุด เป็นครูคนแรกของลูก
ทุกคน หากพ่อแม่เลี้ยงลูกได้ถูกต้องเหมาะสมกับวัยและพัฒนาการแล้ว ลูกย่อมเติบโตมาอย่างมี
ศักยภาพ

5. นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร จงอธิบาย

ตอบ  สังเกตและจดบันทึก สิ่งที่เปลี่ยนแปลงหลังจากเข้าร่วมโครงการ


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 ประจำวัน พุธ ที่ 22 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ความรู้ที่ได้รับ         ในคาบนี้เป็นการรายงานผลการ...